แสดงความยินดีของเว้บ 1
แสดงความยินดีของเว็บ 1 (1)
ศาสตราจารย์ ดร.บัวพันธ์
2
previous arrow
next arrow

เปิดตัวโครงการ “ ถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น “

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) ร่วมมือกับกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้านได้มีการลงพื้นที่เปิดตัวโครงการ “ ถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น “ ณ ศาลาจุดรวมพลหมู่บ้านเหล่านาดี 12 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกรณีชุมชนริมรางรถไฟ จังหวัดขอนแก่นได้เลือกชุมชนกรณีศึกษา 2 ชุมชน ได้แก่ 1)ชุมชนมิตรภาพ 2)ชุมชนเหล่านาดี 12 ตามวัตถุประสงค์ 1)เพื่อถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 ในการรับมือกับวิกฤติสุขภาพของชุมชนริมรางรถไฟ จังหวัดขอนแก่น 2)เพื่อพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง เสริมสร้างศักยภาพชุมชนในเรื่องการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และการจัดการภัยพิบัติอื่นๆ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนนามกุล เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ

การประชุมเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 และการพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและผลกระต่อสุขภาพ

เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2565 ดร.นิลวดี พรหมพักพิง ผู้ประสานงานโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบการจัดการปัญหาฝุ่น pm 2.5 สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานทร่เกี่ยวข้อง ได้จัดประชุมเพื่อหารือกัน ในประเด็นเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 และการพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและผลกระต่อสุขภาพ โดยผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลอันสำคัญ ทั้งในส่วนของแหล่งกำเนิดฝุ่นและผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งผู้เข้าในครั้งนี้ประกอบด้วย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคูคณะสาธารณสุขศาสตร์ และภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมทุกท่านจาก: สิ่งแวดล้อมภาค10, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า, โครงการSpark U ปลุกเปลี่ยนเมือง, สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น, เครือข่ายชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูแก่งละว้า, เครือข่ายตลาดเขียว, NGOและน้องๆ นักศึกษาฝึกงานที่มาร่วมเรียนรู้ด้วยในครั้งนี้ การจัดประชุมเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 และการพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ

การสัมมนา SWRM Situation Analysis Workshop Lao PDR

ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2565 ทีมวิจัยโครงการวิจัยการสร้างเสริมชุมชนและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําขนาดเล็กในภูมิภาคลุ่มโขง (X-Water) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ผู้อำนวยการ CSNM และทีมวิจัย: ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, ดร.พรเพ็ญ โสมาบุตร และทีมผู้ช่วยวิจัย ได้ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมกับทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว โดยรองศาสตราจารย์ ดร.จันดา วงสมบัติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และคณะวิจัยของสปป.ลาว ในการนี้ได้จัดสัมมนา SWRM situation analysis Workshop Lao PDR โดยมีท่านเกวียนทอง เทพธิดา รองเจ้าเมืองวังเวียง เป็นประธาน และได้ลงเยี่ยมพื้นที่วิจัยที่บูลลากูน (การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการท่องเที่ยว) บ้านนาทอง บ้านหินตั้ง เพื่อดูงานการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำของชุมชนด้วย

การประชุมเตรียมความพร้อมโครงการ X-Water กับทีมวิจัยในประเทศกัมพูชา

เมื่อระหว่างวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2565 คณะทีมวิจัยโครงการ X-Water จากศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) หรือ CSNM คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยหัวหน้าโครงการ รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง และทีมวิจัย: ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, รศ.ดร.สถาพร เริงธรรม, ผศ.ดร. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ ได้ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมโครงการ X-Water กับทีมวิจัยในประเทศกัมพูชา partner – Faculty of Development Studies, Royal University of Phnom Penh และลง site visit ที่ Kampong Chhnang (จังหวัดกำปงชนัง) ขอขอบคุณภาพจาก ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 17 International Conference on Humanities and Social Sciences (IC-HUSO)-2022

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 17thInternational Conference on Humanities and Social Sciences (IC-HUSO) 2022 ในประเด็น Urban Interface and Wellbeing (WeSD) ซึ่งได้ครับความสนใจจากนักศึกษา นักวิชาการเป็นอย่างมาก

การประชุมแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 จังหวัดขอนแก่น

  วันที่ 23 มิถุนายน 2565 กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดประชุม “แนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 จังหวัดขอนแก่น” ภายใต้การดำเนินงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1 2 3 4 27