หนังสือกลุ่มวิจัย-WeSD

 

 

 

 

 

 

 


 

หนังสือ ของกินอยู่ใกล้ของใช้ครบ: พลวัตตลาดสดและตลาดนัดในเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่นอีสาน

ปีที่พิมพ์ 2563

รายละเอียด: เป็นหนังสือที่สังเคราะห์งานวิจัยตลาดสด ตลาดท้องถิ่น และตลาดนัด ตลาดระยะเวลา 3 ปี ที่ดำเนินโ๕รงการวิจัย โดยเนื้อหาจะกล่าวถึงการเจริญเติบโดยของเมืองกับตลาด ชาติพันธ์ุพื้นถิ่นในตลาด ตลาดบริเวณชายแดน เครือข่ายของตลาด มีพื้นที่ในการถ่ายทอดเรื่องราวคือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครพนม จังหวีอุบลราชธานี และจังหวัดสุรินทร์

ผู้เขียน: บัวพันธ์ พรหมพักพิง, สมศรี ชัยวณิชยา, นิลวดี พรหมพักพิง และจักรพงษ์ เจอจันทร์

 

บรรณาธิการ: บัวพันธ์ พรหมพักพิง และสุวิทย์ ธรศาศวัต

 


 

หนังสือ ท้องถิ่นและเมือง: การจัดการขยะต้นทางสู่ปลายทางที่ยั่งยืน

ปีที่พิมพ์ 2563

รายละเอียด: การถอดองค์ความรู้ผ่านเทคนิคการเขียนแบบ “เล่าเรื่อง” (Story Telling) จากพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดขอนแก่น ในประเด็นการจัดการขยะที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการต่อยอดสู่พื้นที่อื่น

บรรณาธิการ: กฤษดา ปัจจ่าเนย์, วีระ นิจไตรรัตน์

 

ดาวน์โหลด: หนังสือท้องถิ่นและเมือง การจัดการขยะต้นทางสู่ปลายทางที่ยั่งยืน

 

 

 


หนังสือ สภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนผักไหมน่าอยู่

ปีที่พิมพ์ 2563

รายละเอียด: การถอดองค์ความรู้ผ่านเทคนิคการเขียนแบบ “เล่าเรื่อง” (Story Telling) จากการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จนเกิดดเป็นสภาผู้นำชุมชนตำบลผักไหม ที่สามารถแข้ไขปัญหาของคนในพื้นที่ตำบลได้

หนังจะรวมเรื่องเล่าทั้งหมด 8 เรื่อง จากงานเขียนของผู้นำและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบเล่าเื่องที่เข้าใจจ่าย ตรงไปตรงมา

บรรณาธิการ: กฤษดา ปัจจ่าเนย์, วีระ นิจไตรรัตน์, รัชนีวรรณ์ นิรมิต และ กิ่งผกา สรรพ์สมบัติ

 

 

 

 


 

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง: กำเนิดและพัฒนาการของตลาดสดท้องถิ่นและผู้ค้ารายย่อยในจังหวัดนครพนม

ปีที่พิมพ์ 2562

รายละเอียด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความเป็นมาของตลาดสดนอกเขตเทศบาลเมืองนครพนม 2) เพื่อวิเคราะห์ผู้ค้ารายย่อยและพฤติกรรมผู้ซื้อในตลาดสดนอกเขตเทศบาลเมืองนครพนม 3) เพื่อศึกษาวิถีชีวิต ความสัมพันธ์และเครือข่ายของผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดนอกเขตเทศบาลเมืองนครพนม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีหน่วยวิเคราะห์ในการวิจัยคือ ตลาดสด ซึ่งครอบคลุมทั้งหน่วยวิเคราะห์ระดับปัจเจกบุคคล และระดับสถาบันองค์กร 

ผู้เขียน: นิลวดี พรหมพักพิง, บัวพันธ์  พรหมพักพิง, กฤษดา  ปัจจ่าเนย์, วรนุช  จันทะบูรณ์, มุกดา  วงศ์อ่อน, วาริณี  โสภาจร, ศักดิพงษN  โสภาจร, รัชนีวรรณ์  นิรมิตร, เขตตะวัน  ทัพช้าง, เด่นพงษ์  แสนคำ, พรสุดา ฤทธิธาดา

 

 

 

 


 

เมืองขอนแก่น: การเติบโต ความท้าทาย และโอกาส

ปีที่พิมพ์ 2562

รายละเอียด

หนังสือเกี่ยวกับเมืองฉบับนี้ เป็นหนังสือที่กลุ่มวิจัยฯ ต้องการสะท้อนมุมมองของการเจิรญเติบโตและการขยายตัวของเมืองรอง (Secondary City) คือเมืองขอนแก่น หนังสือเล่มนี้สะท้อนสาระที่ชี้นำการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ พ.ศ. 2573 เนื้อหาครอบคลุมประเด็น แนวคิดการเติบโตของเมือง การพัฒนาเมืองขอนแก่น อุตสาหกรรมและการเติบโตของเมือง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการขยายตัวของเมือง ตลาดสดจนประเด็นความเปราะบางของการกลายเป็นเมือง

ผู้เขียน: บัวพันธ์ พรหมพักพิง; ยรรยงค์ อินทร์ม่วง; มนต์ชัย ผ่องศิริ

 

 

 


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง ความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนแรงงานภาคการเกษตรในชนบทอีสาน

ปีที่พิมพ์ 2562

รายละเอียด

คำถามการวิจัย จากการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางจากท่ามกลางการหลั่งไหลของแรงงานภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม จากเงื่อนไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าว จนทำให้แรงงานภาคเกษตรลดจำนวนลงจนถึงขั้นวิกฤต งานวิจัยนี้จึงสนใจว่าแรงงานที่ยังคงดำรงอยู่ได้ในภาคเกษตรมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง พวกเขามียุทธศาสตร์อย่างไร และมีความอยู่ดีมีสุขหรือไม่อย่างไรในการดำรงชีพในภาวะวิกฤติแรงงานดังกล่า

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวและยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานภาคเกษตรในภาคอีสาน  2) เพื่อศึกษาความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่ดีมีสุขของครัวเรือนแรงงานภาคเกษตร

ผู้เขียน: บัวพันธ์ พรหมพักพิง; นิลวดี พรหมพักพิง; พรเพ็ญ โสมาบุตร; ภัทรพร  วีระนาคินทร์

            และกฤษดา ปัจจ่าเนย์

 

 


                                                               รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง 

ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติของเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ Factors of the National Tobacco Control Policies Response of the Tobacco Farmers

ปีที่พิมพ์ 2561

รายละเอียด

โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและวิเคราะห์การตอบสนองต่อนโยบายการควบคุมยาสูบแห่งชาติโดยเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ มีเนื้อหาครอบคลุม 3 ประเด็นคือ 1) แนวทางการดำเนินนโยบายหรือมาตรการในการควบคุมยาสูบที่ครอบคลุมไปถึงการผลิต หรือเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ และโครงสร้างเชิงอำนาจของชุมชน และสมาคมผู้เพาะปลูกใบยาสูบในท้องถิ่น และ 3) การตอบสนองต่อนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติของครัวเรือนและชุมชนผู้ปลูกยาสูบ

ผู้เขียน: บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, นิลวดี พรหมพักพิง, พรเพ็ญ โสมาบุตร และกฤษดา ปัจจ่าเนย์

 

 


 

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การกำเนิดและพัฒนาการของตลาดสดและผู้ค้ารายย่อยเมืองขอนแก่น

ปีที่พิมพ์ 2561
รายละเอียด
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การกำเนิดและพัฒนาการของตลาดสดและผู้ค้ารายย่อยเมืองขอนแก่น โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการย่อยของโครงการ “กำเนิดและพัฒนาการของตลาดสด ตลาดนัด และผู้ค้ารายย่อยในภาคอีสาน (The Origin and Evolution of Fresh Market, Market Fair, and Petty Traders in the Northeast of Thailand)” ของเมธีวิจัยอาวุโส (ศาสตราจารย์ สุวิทย์ ธีรศาศวัต

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของเมืองขอนแก่น 2) ศึกษากำเนิดและพัฒนาการตลาดสด ภายใต้พัฒนาการหรือการขยายตัวของเมืองขอนแก่น และ 3) วิเคราะห์ผู้ค้ารายย่อยและผู้ซื้อในตลาดสด การศึกษากำเนิดและพัฒนาการของเมือง และพัฒนาการของตลาดสด

ผู้เขียน บัวพันธ์ พรหมพักพิง หัวหน้าโครงการ, นิลวดี พรหมพักพิง นักวิจัย, กฤษดา ปัจจ่าเนย์ นักวิจัย, พัชนีย์ เมืองศรี นักวิจัย, วรนุช จันทะบูรณ์ นักวิจัย

 

 

 


รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4PW) ปีที่ 1 จังหวัดขอนแก่น

ปีที่พิมพ์ 2560
รายละเอียด
คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น ได้จัดทำโครงการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4PW) ปีที่ 1 จังหวัดขอนแก่น โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยมีกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนา
อย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยเลขานุการกิจ (นลส.) การดำเนินโครงการโดยใช้กระบวนการของสมัชชาสุขภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550
การดำเนินงานได้สิ้นสุดลงตามกรอบการดำเนินโครงการ ดังนั้นหน่วยเลขานุการกิจจึงได้จัดทำรายงานเล่มนี้ขึ้น เพื่อบันทึกประสบการณ์การดำเนินงานโครงการตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ ในรายงานแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : บทนำ ส่วนที่ 2 : กระบวนการและผลการดำเนินงาน และส่วนที่ 3 : บทสรุปและข้อเสนอแนะ

 

 

 

 


เครือข่ายเด็กไทยไกลบ้าน เครือข่ายทางสังคมของแรงงานนักเรียนไทย ในออสเตรเลีย

ปีที่พิมพ์ 2560
รายละเอียด
หนังสือเครือข่ายเด็กไทยไกลบ้าน เครือข่ายทางสังคมของแรงงานนักเรียนไทย ในออสเตรเลีย เป็นผลงานการสังเคราะห์จากงานวิจัยเรื่อง “เครือข่ายไทย-ออส : เครือข่ายทางสังคมของแรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย” โดย อ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ กรรมการบริหารกลุ่มวิจัย WeSD

 

 

 


 

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา: จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2)

ปีที่พิมพ์ 2560
รายละเอียด
หนังสือ “แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา: จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ” เป็นการพิมพ์ครั้งที่สอง โดยเนื้อหายังคงไม่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเพียงแต่ภาพปกเท่านั้น

สิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอในตำราเล่มนี้ คือ มุ่งที่จะสนับสนุนให้ใช้คำว่า “ความอยู่ดีมีสุข” แทน “การพัฒนา” อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นคู่มือสำเร็จรูปที่บอกขั้นตอนหรือวิธีการทางเทคนิคที่สมบูรณ์ครบถ้วน แต่หนังสือเล่มนี้ มุ่งที่จะนำเสนอหลักการหรือทฤษฎีเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขประชาชาติที่ผู้เขียนเสนอไว้ จึงเป็นกรอบทฤษฎีที่บางอย่างต้องการการวิจัย และการค้นหาเทคนิค ต่อเนื่องออกไปจากหลักการดังกล่าว

การเรียบเรียงตำราเล่มนี้ ผู้เขียนได้ประโยชน์จากโครงการวิจัยความอยู่ดีมีสุขของประชากร ในประเทศกำลังพัฒนา (Wellbeing in Developing Countries: WeD) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้วิจัยได้เข้าร่วม และภายหลังได้ก่อตั้งเป็นกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Wellbeing and Sustainable Development: WeSD) ซึ่งเป็นเวลาครบ 10 ปี แล้ว ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนในการสนับสนุนผู้เขียน จึงมีจำนวนมาก นับตั้งแต่การได้รับโอกาส ให้เข้าร่วมโครงการ WeD ซึ่งผู้เขียนได้รับการสนับสนุนด้านเอกสาร ได้ทำการวิจัย พบปะกับผู้ที่สนใจ ในเรื่องความอยู่ดีมีสุข ตลอดจนสมาชิกของกลุ่มวิจัย WeSD ในปัจจุบัน ที่ได้ช่วยเหลือผู้เขียนในด้านต่าง ๆ คุณนิลวดี พรหมพักพิง และทีมงาน ได้ช่วยในการตรวจความถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย ผู้เขียนอยากจะขอบคุณทุกท่าน ที่มีส่วนในการทำให้ตำราเล่มนี้ เสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

โดยนอกเหนือจากกลุ่มนักศึกษา ในหลักสูตรพัฒนาสังคมระดับปริญญาตรี และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ใช้หนังสือเล่มนี้ เป็นตำราเพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าแล้ว หนังสือเล่มนี้ ได้เริ่มเผยแพร่ไปยังกลุ่มนักศึกษาปริญญาโทพัฒนาสังคมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยเฉพาะที่ศูนย์ต่างจังหวัด ทำให้ผู้เขียนมีความคิดและได้เริ่มปรับปรุงหนังสือเล่มนี้ ให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นทางด้านการพัฒนาสังคม และจะพยายามใช้ภาษาที่สามารถอ่านและเข้าถึงได้ โดยกลุ่มคนที่กว้างขวางยิ่งขึ้น เมื่อหนังสือที่จัดพิมพ์ครั้งที่สองจำหน่ายหมด การปรับปรุงน่าจะเสร็จสมบูรณ์ พร้อมที่จะจัดพิมพ์ครั้งต่อไป

หมายเหตุ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มีจำหน่ายแล้วที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยขอนแก่น)

 


 

รายงานผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนวิชาการเวทีสานงานเสริมพลังร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่: ภาคอีสาน

ปีที่พิมพ์ 2559
รายละเอียด
รายงานผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนวิชาการเวทีสานงานเสริมพลังร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่: ภาคอีสาน

 

 

 

 


 

 

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ

ปีที่พิมพ์ 2556
รายละเอียด
หนังสือแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา : จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ โดย รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง เป็นหนังสือที่มุ่งให้เป็นตำราทางด้านการพัฒนา ที่ผู้เขียนสอนในหลายหลักสูตร นอกจากการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแล้ว ผู้เขียนยังได้วางกรอบเนื้อหาที่ครอบคลุมค่อนข้างกว้างขวาง ที่เน้นการใช้คำว่า ความอยู่ดีมีสุข แทน การพัฒนา ซึ่งในหนังสือ ประกอบไปด้วย 8 บทหลัก และมีประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ความอยู่ดีมีสุข อาทิเช่น การพัฒนาความมั่งคั่งแห่งชาติ ทุนทางสังคม สุขภาวะของระบบนิเวศ ความอยู่ดีมีสุขประชาติ ทฤษฎีความเจริญเติบโต ทฤษฎีความทันสมัย แนวคิดหลังการพัฒนา ความหลากมิติของความยากจน คุณประโยชน์ระบบนิเวศ ระบอบสวัสดิการ ความสุขและความอยู่ดีมีสุข ฯลฯ และอีกหลายประเด็น โดยมีวางจำหน่ายแล้ว ที่ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ราคาเล่มละ 180 บาท

 

 

 


การประเมินคุณประโยชน์ของระบบนิเวศการเปลี่ยนแปลงและผลต่อความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์

ปีที่พิมพ์ 2555
รายละเอียด
การประเมินคุณประโยชน์ของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงและผลต่อความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์

 

 

 


 

 

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาจากความมั่นคงทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ

ปีที่พิมพ์ 2555
รายละเอียด
ความอยู่ดีมีสุขของประชาชาติ

 

 


 

 

 

ปลุกพลังพลเมืองสร้างประชาภิบาลและประชาธิปไตยในท้องถิ่น
ปีที่พิมพ์ 2555
รายละเอียด สรุปผลการดำเนินการโครงการสร้างสำนึกพลเมืองเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในท้องถิ่น

 

 

 

 


รายงานสรุปประชุม การประชุมทางวิชาการสังคมวิทยาภูมิภาค ภาคอีสาน ?ความไม่เป็นธรรมและความขัดแย้ง: แผ่นดินเดียวกันแต่เสมือนอยู่คนละโลก?
ปีที่พิมพ์ 2554
รายละเอียด ความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน การประชุมสังคมวิทยาภูมิภาคจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสังคมวิทยาต่อสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น และร่วมกันแสวงหาแนวทางในอนาคตสำหรับสังคมไทย

 

 

 

 


 

 

รายงานประจำปี (2552 – 2553)
ปีที่พิมพ์ 2554
รายละเอียด สรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในช่วงปี 2552-2553 ได้แก่ การดำเนินงานด้านการวิจัย ด้านบริการวิชาการ ด้านการเรียนการสอน และด้านการประสานงานเครือข่าย

 

 

 

 

 


 

 

สรุปผลการสัมมนาทางวิชาการ ทุนทางสังคม: มรดกเก่าจะนำเราไปรอดจริงหรือ
ปีที่พิมพ์ 2546
รายละเอียด การก่อเกิดของชุมชนและการแพร่ขยายตัวของรัฐและตลาดเข้าไปในชุมชน จะทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด หนังสือเล่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับประเพณี ความเชื่อเรื่องผี และวัด รวมทั้งการขยายตัวของเครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนและนอกชุมชน เพื่อให้เข้าใจคำว่า ทุนทางสังคม ในมิติใหม่ที่เป็นมรดกเก่าของชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของผู้หญิงในชนบทอีสาน
ปีที่พิมพ์ 2548
รายละเอียด ในทางประวัติศาสตร์ของการแต่งงานข้ามชาติมักจะมีเหตุผลในทางเศรษฐกิจและได้รับการจัดชั้นทางสังคมให้อยู่ใกล้เคียงกับกลุ่ม ?เมียเช่า? หรือ ?โสเภณี? ด้วยบริบททางประวัติศาสตร์เช่นนี้ รายงานวิจัยเล่มนี้จึงให้ความสนใจและทำความเข้าใจประเด็นปัญหาดังกล่าวจากมุมมองของผู้หญิง ครัวเรือน และชุมชน

 

 

 

 

 


 

 

 

การสังเคราะห์ตัวชี้วัดความสุข: การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดความสุข จังหวัดเลย
ปีที่พิมพ์ 2549
รายละเอียด ความรู้เรื่อง ความอยู่ดีมีแฮง ตามวิถีของชาวบ้านที่เป็นผู้สร้างตัวชี้วัดขึ้นมา ผลการสังเคราะห์และการสรุปบทเรียนในครั้งนี้ชี้ว่า ตัวชี้วัดไม่ควรจะเป็นเพียง ชุดเครื่องมือ ที่มุ่งวัด ผลลัพธ์สุดท้าย ของความอยู่ดีมีสุขเท่านั้น แต่ควรจะมองตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และทำความเข้าใจปัญหาพื้นฐานของตนเอง เข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาและร่วมกันคิดค้นหาทางออก ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขจึงควรเป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วย.

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

รายงานฉบับสมบูรณ์ เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการควบคุมบุหรี่
ปีที่พิมพ์ 2550
รายละเอียด การตระหนักต่อภัยจากการสูบบุหรี่ที่เกิดในประเทศอุตสาหกรรม อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ข้อมูลด้านการแพทย์ ได้ทำให้บริษัทข้ามชาติบุหรี่หันมาขยายตลาดผู้บริโภคบุหรี่ไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา และด้วยแรงกดดันของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ภายใต้ระเบียบการค้าเสรี ได้ทำให้ประเทศไทยเปิดการนำเข้าเสรีบุหรี่ รายงานวิจัยฉบับนี้ ต้องการทำความเข้าใจในเรื่อ

งอิทธิพลของบุหรี่ข้ามชาติต่อการควบคุมการผลิตและการบริโภคบุหรี่ของไทย ตลอดจนพัฒนาการของการผลิตยาสูบ/บุหรี่ และการบริโภคในท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 


 

บทสังเคราะห์ สร้างสุขภาวะเพื่อมุ่งสู่อยู่ดีมีสุข: บทสังเคราะห์ตัวชี้วัดกระบวนการสร้างชุมชนอยู่ดีมีสุขในภาคอีสาน
ปีที่พิมพ์ 2550
รายละเอียด หนังสือเล่มนี้เป็นบทสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากการสรุปบทเรียนการสร้างสุขภาคอีสาน อาศัยหลักคิดจากกรอบตัวชี้วัดเรื่อง ?ความอยู่ดีมีสุข? และแบ่งชุดบทเรียนออกเป็น 5 ชุด ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สังคมวัฒนธรรม สุขภาวะ เศรษฐกิจ และกลไกการจัดการ การติดตามการสนับสนุนการทำงานของทีมประเด็นในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล สังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการประชุมปรึกษาหารือของแต่ละทีมประเด็น และนำข้อมูลมาสังเคราะห์ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขอย่างต่อเนื่อง จะเป็นยุทธศาสตร์หรือนโยบายสาธารณะและตัวชี้วัดสุขภาวะ เพื่อใช้สำหรับขับเคลื่อนงานสุขภาวะภาคอีสานในระยะยาวต่อไป

 

 

 

 

 


รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนในระดับอำเภอ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2551
รายละเอียด สวัสดิการ ถือว่าเป็น ผลลัพธ์ของความอยู่ดีมีสุข ตามกรอบคิดการวิจัยของโครงการวิจัยความอยู่ดีมีสุขฯ (WeD) ประเด็นที่เป็นโจทย์คำถามการวิจัยอย่างหนึ่งคือ เมื่อสวัสดิการของรัฐมีขีดจำกัด เราจะสามารถสร้างสวัสดิการทางเลือกขึ้นมาได้อย่างไร รายงานวิจัยเล่มนี้นำเสนอฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก การวิเคราะห์กองทุน สวัสดิการชุมชนในพื้นที่เป้าหมายในประเด็นรูปแบบการดำเนินงานและการบูรณาการ การทดลองนำร่องการบูรณาการการจัดสวัสดิการชุมชน ตลอดจนสังเคราะห์ความรู้จากกระบวนการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

 


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาสมรรถนะขององค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการพัฒนาและการใช้ทุนทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ระยะที่ 1
ปีที่พิมพ์ 2552
รายละเอียด การศึกษาสภาวะและวิเคราะห์ทุนทางสังคมขององค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 พื้นที่เป้าหมายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรายงานวิจัยนี้ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานของชุมชนที่ศึกษาครอบคลุมทั้งทุนกายภาพ ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคมและทุนการเงิน

 

 

 

 

 

 


 

กขคง การระดมศักยภาพชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาสมรรถนะขององค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการพัฒนาและการใช้ทุนทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ระยะที่ 2)
ปีที่พิมพ์ 2552
รายละเอียด การสร้างเครื่องมือในการประเมินทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนชนบททั้ง 4 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือชุดต่อเนื่องมาจากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาสมรรถนะขององค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการพัฒนาและการใช้ทุนทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ระยะที่ 1 ซึ่งได้นำเสนอเครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การโสเหล่เสวนา แผนผังวงขอบกลุ่ม กองทุน และองค์กร และตะกร้ารั่ว ซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจและนำมาใช้งานสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือนักพัฒนาชุมชน ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการนำเอาทุนทางสังคมมาใช้ในการพัฒนาต่อไป

 

 

 

 

 

 

 


บรรณนิทัศน์ งานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2540-2550 (ภายใต้โครงการสถานะองค์ความรู้และการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ปีที่พิมพ์ 2552
รายละเอียด บรรณนิทัศน์เล่มนี้ ได้รวบรวมงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของอาจารย์หรือบุคลากร 4 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษา และกลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2550 เป็นระยะเวลา 10 ปี

 

 

 

 

 

 


 

 

รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปีที่พิมพ์ 2552
รายละเอียด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือว่าเป็นหน่วยการปกครองระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่และประชาชนมากที่สุด ภาระงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนนับเป็นภารกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะสถานการณ์การจัดสวัสดิการให้กับผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ หนังสือเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาจากเครือข่าย อปท. ทั้ง 14 แห่ง ในเขต 7 จังหวัดภาคอีสานในฐานะหน่วยการปกครองสายตรงจากภาครัฐจะบอกเล่าเรื่องราวรูปแบบการจัดสวัสดิการได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 


 

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
ปีที่พิมพ์ 2552
รายละเอียด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นพื้นที่ที่มีเครือข่ายกลุ่ม กองทุน หรือองค์กรด้านการจัดสวัสดิการในพื้นที่จำนวนมาก เครือข่ายเหล่านี้แฝงตัวทั้งในกลุ่มองค์กร ชมรม สมาคม สถาบันศาสนา และสถานพยาบาล ทว่าเป้าหมายการดำเนินงานที่แท้จริงอยู่ที่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐได้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มหรือองค์กรในชุมชนให้สามารถดูแล ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชนนับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง

 

 

 

 

 

 

 


 

การศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวยากจนและครอบครัวทั่วไปด้วยแบบประเมินตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขมหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU QoL Well) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปีที่พิมพ์ 2553
รายละเอียด แบบประเมิน KKU QoL Well? สามารถนำไปประเมินคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนได้ทั้งในด้านองค์ประกอบย่อยและในภาพรวมได้ เป็นเครื่องมือที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินผลการวางแผนการพัฒนาด้านกลยุทธ์ การวางแผน และการประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนา

 

 

 

 

 

 


 

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่องเส้นทาง ยาเส้น: เกษตรกรผู้ปลูก ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง
ปีที่พิมพ์ 2553
รายละเอียด นโยบายการควบคุมยาสูบโดยเฉพาะนโยบายด้านภาษีที่ผ่านมา จะเป็นที่ยอมรับว่าสามารถปรับเปลี่ยนหรือลดจำนวนผู้บริโภคบุหรี่ซอง แต่ดูเหมือนว่านโยบายดังกล่าวนี้ มิได้ส่งผลต่อกลุ่มผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง ดังนั้น งานวิจัยเรื่องเส้นทางยาเส้นฯ นี้ จึงได้อธิบายและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างครอบคลุมในเรื่องดังกล่าว

 

 

 

 

 

 

 


 

สังคมสวัสดิการ: คน ครอบครัว ชุมชน สู่ความอยู่ดีมีสุข
ปีที่พิมพ์ 2553
รายละเอียด เราจำเป็นต้องทบทวนความหมายของคำว่า สวัสดิการ อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมา สวัสดิการเสมือนเครื่องมือของรัฐที่อำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้ เนื่องจากว่า การพัฒนาประเทศไปสู่สังคมอุตสาหกรรมนั้น จะมีคนจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบในทางลบ สวัสดิการเป็นเครื่องมือคอยปกป้องคนเหล่านี้ให้รอดพ้นจากทุกข์เข็ญ แต่ด้วยข้อจำกัดที่ได้กล่าวไว้แล้ว ทำให้สวัสดิการกลายเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐและตลาด มิใช่ความเป็นธรรม