ข่าวประชาสัมพันธ์

เวทีการนำเสนอผลงานศึกษา “Community Governance and Driver of Conflict”

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่ง (WeSD) และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) จัดเวทีการนำเสนอผลงานศึกษา “Community Governance and Driver of Conflict” ภายในเวทีมีการนำเสนอผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก โดยมีประเด็นดังนี้ ปัจจ้ยขับเคลื่อนความขัดแย้ง ความครอบคลุมทางสังคม การมีส่วนร่วม และ การสร้างฉันทามติ และนอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองจากภาคประชาสังคม ณ ห้องประชุม 1 อาคาร HS05 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ถอดบทเรียนและสรุปบทเรียนการเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัดขอนแก่น

วันที่ 7 มีนาคม กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดฝึกอบรมถอดบทเรียนการเฝ้าระวังและการจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 ของพื้นที่ต้นแบบ 5 พื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น (ภายใต้โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ณ ห้องประชุม 2 อาคาร 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น/เทศบาลเมืองศิลา/เทศบาลตำบลบ้านค้อ/ เทศบาลเวียงชัยและโรงเรียนน้ำพองศึกษา/อบต.บ้างกงและบ้านท่าลี่

เวที วิชาการเวทีโชว์ แชร์ เชื่อม และพัฒนา กลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีขับเคลื่อนสุขภาวะภาคอีสานให้มีความเข้มแข็ง

เมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และภาคีเครือข่ายภาคอีสาน จัดเวทีวิชาการเวทีโชว์ แชร์ เชื่อม และพัฒนากลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีขับเคลื่อนสุขภาวะภาคอีสานให้มีความเข้มแข็ง จัดงานในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ใน 4 ประเด็นสำคัญดังนี้ เกษตรอินทรีย์ การจัดการขยะ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ภายในงานมีการบรรยาย “เรื่องเล่า เร้าพลัง” และมีการนำเสนอภาคีเครือข่ายในหัวข้อ “ ภาคียุทธศาสตร์ร่วมขับเคลื่อนสุขภาวะคนภาคอีสานสู่มิติใหม่แห่งอนาคต ” นอกจากนี้ มีการแสดงต่างๆ เช่น กันตรึม วงโปงลาง

ชุดทีมวิจัยในโครงการวิจัยระบบการศึกษาไทยยุคหลังโควิด 19 : ความท้าทายและการปรับตัวได้จัดประชุมเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ทีมวิจัยชุดโครงการวิจัยระบบการศึกษาไทยยุคหลังโควิด 19 : ความท้าทายและการปรับตัว จัดประชุมนำเสนอความก้าวหน้าของ แผนงานย่อยทั้ง 3 แผนงาน ได้แก่ 1) การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายุคหลังโควิด-19 (หลักสูตรท้องถิ่น) 2)การพัฒนากลไกสร้างความอยู่ดีมีสุขผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบของผู้เรียนและผู้สอนในระบบการศึกษายุคหลังโควิด-19 และ 3) การสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนในภาคอีสาน นำทีมโดย ศ.บัวพันธ์ บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ดร.มนต์ชัย ผ่องศิริ, ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, ผศ.ดร.อภิรดี วงศ์ศิริ, อ.ดร.ณัฐพล มีแก้ว, อ.ดร.ภัทรพร วีระนาคินทร์, อ.ดร.พรสรรค์ ปิยนันทิศักดิ์, ดร.พรเพ็ญ โสมาบุตร, ดร.นิลวดี พรหมพักพิง, คุณกฤษดา ปัจจ่าเนย์ และคุณสุธาสินี ชัยเดชทยากุล ทีมงาน WeSD ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนโครงการวิจัยนี้ค่ะ

ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้ โครงการประชุมสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ภาคอีสาน

การจัดทำข้อเสนอโครงการนำร่องจัดการเมืองสำหรับเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในพื้นที่เมืองภายใต้โครงการ Success และตั้งอยู่ในแนวระเบียงถนนมิตรภาพ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดหนองคาย โดยเล็งเห็นความสำคัญในการใช้ “แผนผังภูมินิเวศ” (Ecological Spatial Plan) ในการเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ (Strategic Instrument) ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาจัดการเมือง ควบคู่กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS (geographic information system) จัดขึ้นในวันที่ 25-26 มกราคม 2566 ณ จังหวัดอุดรธานี โดยศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) Center for Civil Society and Nonprofit Management (CSNM) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้ โครงการประชุมสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ภาคอีสาน

กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( WeSD ) ร่วมมือกับกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้านร่วมกันลงพื้นที่เปิดตัวโครงการ “ ถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น “

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( WeSD ) ร่วมมือกับกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้านได้มีการลงพื้นที่เปิดตัวโครงการ “ ถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น “ ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้1) ทบทวนประวัติศาสตร์ชุมชน 2) ทำแผนที่เดินดิน3) ศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชนณ ห้องประชุมของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จังหวัดขอนแก่น ร่วมถอดบทเรียนข้อมูลชุมชน อัพเดทและเพิ่มเติมข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาต่อไป ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากตัวแทนของชุมชนริมทางรถไฟขอนแก่น และชุมชนเหล่านาดี 12 เป็นอย่างดี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนนามกุล เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ

เปิดตัวโครงการ “ ถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น “

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WeSD) ร่วมมือกับกลุ่มเพื่อนคนไร้บ้านได้มีการลงพื้นที่เปิดตัวโครงการ “ ถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนริมทางรถไฟจังหวัดขอนแก่น “ ณ ศาลาจุดรวมพลหมู่บ้านเหล่านาดี 12 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกรณีชุมชนริมรางรถไฟ จังหวัดขอนแก่นได้เลือกชุมชนกรณีศึกษา 2 ชุมชน ได้แก่ 1)ชุมชนมิตรภาพ 2)ชุมชนเหล่านาดี 12 ตามวัตถุประสงค์ 1)เพื่อถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 ในการรับมือกับวิกฤติสุขภาพของชุมชนริมรางรถไฟ จังหวัดขอนแก่น 2)เพื่อพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง เสริมสร้างศักยภาพชุมชนในเรื่องการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และการจัดการภัยพิบัติอื่นๆ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนนามกุล เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ

การประชุมเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 และการพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและผลกระต่อสุขภาพ

เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2565 ดร.นิลวดี พรหมพักพิง ผู้ประสานงานโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบการจัดการปัญหาฝุ่น pm 2.5 สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานทร่เกี่ยวข้อง ได้จัดประชุมเพื่อหารือกัน ในประเด็นเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 และการพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและผลกระต่อสุขภาพ โดยผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลอันสำคัญ ทั้งในส่วนของแหล่งกำเนิดฝุ่นและผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งผู้เข้าในครั้งนี้ประกอบด้วย รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคูคณะสาธารณสุขศาสตร์ และภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมทุกท่านจาก: สิ่งแวดล้อมภาค10, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า, โครงการSpark U ปลุกเปลี่ยนเมือง, สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น, เครือข่ายชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูแก่งละว้า, เครือข่ายตลาดเขียว, NGOและน้องๆ นักศึกษาฝึกงานที่มาร่วมเรียนรู้ด้วยในครั้งนี้ การจัดประชุมเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองPM 2.5 และการพัฒนาระบบข้อมูลเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ

การสัมมนา SWRM Situation Analysis Workshop Lao PDR

ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2565 ทีมวิจัยโครงการวิจัยการสร้างเสริมชุมชนและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําขนาดเล็กในภูมิภาคลุ่มโขง (X-Water) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ผู้อำนวยการ CSNM และทีมวิจัย: ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, ดร.พรเพ็ญ โสมาบุตร และทีมผู้ช่วยวิจัย ได้ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมกับทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว โดยรองศาสตราจารย์ ดร.จันดา วงสมบัติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และคณะวิจัยของสปป.ลาว ในการนี้ได้จัดสัมมนา SWRM situation analysis Workshop Lao PDR โดยมีท่านเกวียนทอง เทพธิดา รองเจ้าเมืองวังเวียง เป็นประธาน และได้ลงเยี่ยมพื้นที่วิจัยที่บูลลากูน (การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการท่องเที่ยว) บ้านนาทอง บ้านหินตั้ง เพื่อดูงานการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำของชุมชนด้วย


จดหมายข่าวเลขที่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ต.ค.-ธ.ค. 2556 หัวเรื่อง : โครงการพัฒนาศักยภาพและติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อน 4จังหวัดปลอดบุหรี่ 2556-2567

จดหมายข่าวเลขที่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค.-ก.ย. 2556 หัวเรื่อง : การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

จดหมายข่าวเลขที่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน เม.ย – มิ.ย. 2556 หัวเรื่อง :ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการที่ไม่แสวงหากำไร

จดหมายข่าวเลขที่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน ม.ค.-มี.ค. 2556 หัวเรื่อง : สิ่งแวดล้อม